วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562

บทที่ 1 | 1.4 การคิดเชิงออกแบบ สำหรับวิทยาการข้อมูล

1.4 การคิดเชิงออกแบบ(design thinking)สำหรับวิทยาการข้อมูล
______________________________________________________

การนำข้อมูลมาใช้เพื่อสื่อสารถึงแม้จะทำให้เข้าใจปัญหาหรือสถานการณ์มากยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่เข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ ก็จะทำให้การนำเสนอข้อมูลผลลัพธ์ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากผู้ใช้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่นำเสนอนั้นได้ เช่น ข้อมูลที่นำเสนอมีปริมาณมากหรือละเอียดเกินความต้องการ เมื่อผู้ใช้พิจารณาข้อมูลแล้วคิดว่าไม่จำเป็นสำหรับตนเอง ข้อบกพร่องนี้อาจทำให้การพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถเข้าถึงความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง

การที่จะใช้วิทยาการข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มช้งานนั้น ต้องทราบความต้องการที่ชัดเจนของผู้ใช้ด้วย แนวทางการทำงานในลักษณะนี้คล้ายคลึงกับการทำงานของนักออกแบบที่สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่นอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้จริงแล้ว ยังต้องมีความสวยงามน่าใช้ไปพร้อมๆกันอีกด้วย ดังนั้นในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยข้อมูล อาจใช้แนวคิดเดียวกับนักออกแบบ แนวคิดดังกล่าวเรียกรวมๆว่า การคิดเชิงออกแบบ (design thinking)


Related image





______________________________________________________

บทที่ 1 | 1.3 กระบวนการวิทยาการข้อมูล

 1.3 กระบวนการวิทยาการข้อมูล
_____________________________________________________
      การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยข้อมูลจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ และต้องเข้าใจกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดหาและประมวลผลข้อมูลเพราะกิจกรรมที่ต้องทำค่อนข้างหลากหลายดพื่อไม่ให้สับสนหรือพลาดประเด็นใดไป เราควรจะทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ การตั้งคำถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพ

ขั้นตอนที่ 1__การตั้งคำถาม_________________________ตั้งคำถามที่ตนเองสนใจ
ขั้นตอนที่ 2__การเก็บรวบรวมข้อมูล__________________ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้นั้นจะต้องทำการตรวจสอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลนำเข้าที่ดี
ขั้นตอนที่ 3__การสำรวจข้อมูล______________________รวบรวมข้อมูลและนำมาพล็อตทำให้เป็นภาพหรือแผนภูมิเพื่อให้มองเห็นความหมายที่ซ่อนอยู่ในกราฟ
ขั้นตอนที่ 4__การวิเคราะห์ข้อมูล____________________เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของข้อมูลและทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ขั้นตอนที่ 5__การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป้นภาพ___การถ่ายทอดเรื่องราวหรือภาพทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าได้รู็อะไรจากข้อมูล

______________________________________________________

บทที่ 1 | 1.2 วิทยาการข้อมูล

1.2 วิทยาการข้อมูล (data science)
______________________________________________________
   
    จากที่สหรัฐอเมริกาได้รายงานข้อมูลการประสบปัญหาการขาดแคลนผู้ที่มีทักษะการวิเคราะห์เชิงลึก และการจัการข้อมูลมหาสาร เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหารทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งต้องมีทักษะที่เรียกว่า วิทยาการข้อมูล ซึ่งเป็นการศึกษาถึงกระบวนการวิธีการ
   วิทยาการข้อมูล (Data Science) พูดแบบภาษาทั่วไป มันก็คือศาสตร์ประเภทหนึ่งที่ผนวกเอาความรู้ด้านเทคโนโลยีหลายอย่างเข้าไปศึกษาสิ่งที่เรียกว่า “ข้อมูล (Data)” ที่มีจำนวนมหาศาล ซึ่งข้อมูลดังกล่าวยังไม่ได้ถูกจัดเรียงและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ แต่กองเป็นพะเนินเทินทึก ดังนั้นก็เป็นหน้าที่ของศาสตร์ Data Science ที่จะเข้าไปจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อให้ได้ความรู้อย่างหนึ่งอย่างใดออกมา
Image result for data science png
สำหรับความรู้ที่ใช้ในการศึกษาด้าน Data Science ได้แก่

  1. Data Mining
  2. Machine Learning
  3. Deep Learning
  4. Artificial Intelligence (AI)
  5. Big Data
  6. Math & Statistics
______________________________________________________


บทที่ 1 | 1.1 ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ

1.1 ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ (information age)
______________________________________________________

ในยุคของข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สารธารณสุข วิ่งแวดล้อม การเกษตร และการคมนาคม การจัดเก็บของมูลในรูปแบบเดิมทำให้การนำข้อมูลมาใช้ไม่สะดวก ไม่ทันกาล สูญหายง่าย แต่การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) และพัฒนาการของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้ทุกที่ทุกเวลา

ในปัจจุบันได้มีการนำข้อมูลดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ทำให้เกิดมูลค่ามหาศาล เช่น การขายสินค้าออนไลน์ บริการสื่อสังคม และจากการนำข้อมูลดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลจึงมีบทบาทสำคัญ และอาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลก็เป็นอาชีพที่น่าสนใจ  และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคของข้อมูลและสารสนเทศนี้
______________________________________________________

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data sciencetist)



Image result for data scientist


นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล คือ ผู้ที่มีความสามารถในด้านการค้นหา วิเคราะห์ ค้นพบสิ่งใหม่ๆที่น่าสนใจและมีประโยชน์ภายในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big data  ซึ่งหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลคือจัดการกับข้อมูลที่มีปริมาณมาก ยุ่งยาก แลพหลากหลายโดยทำการวิเคราะห์ ค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ของข้อมูล และนำเสนอออกจมาให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ปัญญาประดิษฐ์ AI






สรุปประเด็นสำคัญ
              ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เป็น สิ่งประดิษฐ์ชิ้นหนึ่งของมนุษย์ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงมนุษย์ชาติได้เลย  AI ก็คือ สมองกล บางคนก็อาจจะคิดว่าเป็นหุ่นยนต์หรือเกมจริงๆแล้ว AI มีความหมายที่ใหญ่กว่า
ในประมาณปี ค.ศ.1940 แอลัน ทัวริง ได้คิด ทัวริงเทสขึ้นมาเพื่อทดสอบว่าปัญญาประดิษฐ์ฉลาดจริงรึเปล่าและจากการทดสอบจะได้ว่าปัญญาประดิษฐ์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากและสามารถจำลองบทสนทนาได้เหมือนคนจริงๆ ถัดมาจากยุคของทัวริง ประมาณปี ค.ศ. 1956 เกิดการประชุมของ AI เป็นครั้งแรกเกิดขึ้นได้มีนักวิทยาศาสตร์มาเข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมาก และหนึ่งในนั้นคือ มาร์วิน วินสกี ได้พูดเกี่ยวกับความทะเยอทะยานเกี่ยวกับ AI ในยุคนั้นว่าภายหนึ่งชั่วคนจะสามารถแก้ AI ได้อย่างแน่นอน และนักวิทยาศาสตร์อีกคนคือ เฮอร์เบิร์ต ไซมอน ได้กล่าวเช่นกันว่าภายใน20ปีนี้ AI นี้จะมีความสรถเหมือนมนุษย์เกือบทุกอย่าง ยุคถัดมาในปี ค.ศ.1970-1980 หรือยุคฤดูหนาวของ AI หรือAI winter คือช่วงที่องกรณ์ต่างๆที่เคยสนับสนุน AI ก็เลิกสนับสนุน AI เพราะคิดว่า AI มันเป็นไปไม่ได้แล้ว  และยุดต่อมา1990-2012 ได้มีGoogleขึ้นมา

Big data คืออะไร


What is big data?

ที่มา : https://youtu.be/eVSfJhssXUA

สรุปประเด็นสำคัญ : ข้อมูลต่างๆในชีวิตประจำวันมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถูกเก็บไว้โดยคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึม จากหลายๆประเทศได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า เทคโนโลยีส่งผลต่อชีวิตของมนุษย์มาก โดยเชื่อมโยงเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์สิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้ ดังนั้น Big data จึงบเป็นข้อมูลที่รวมสิ่งเหล่านี้เอาไว้

I.O.T


I.O.T


ที่มา: https://youtu.be/LlhmzVL5bm8

สรุปเนื้อหา
Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ

บทที่ 1 | 1.4 การคิดเชิงออกแบบ สำหรับวิทยาการข้อมูล

1.4 การคิดเชิงออกแบบ(design thinking)สำหรับวิทยาการข้อมูล ______________________________________________________ การนำข้อมูลมาใช้เพื่อส...